น่าน : นันทบุรีในอดีต นครรัฐก่อขึ้นราวกลางพุทธศตวรรษที่18 ณ ลุ่มแม่น้ำน่าน,ทิศตะวันออกของภาคเหนือ "น่านเมืองแห่งล้านนาตะวันออก"
จังหวัดน่าน (นันทบุรีศรีนครน่าน)
คำขวัญ
แข่งเรือลือเลื่อง เมืองงาช้างดำ
จิตรกรรมวัดภูมินทร์ แดนดินส้มสีทอง
เรืองรองพระธาตุแช่แห้ง
วิสัยทัศน์ (Vision)
เมืองแห่งความสุข เศรษฐกิจสร้างสรรค์ ธรรมชาติสมบูรณ์ การเกษตรมั่งคั่ง ชุมชนเข้มแข็ง ท่องเที่ยวยั่งยืน
หน่วยอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมธรรมชาติและศิลปกรรมท้องถิ่น
คณะรัฐมนตรีได้มีมติเมื่อวันที่ ๒๘ สิงหาคม ๒๕๒๗ เห็นชอบในหลักการของแผนพัฒนาการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมศิลปกรรม โดยมีหลักการมุ่งหมายให้ท้องถิ่น ตระหนักและทุกฝ่ายได้มีส่วนร่วมในหน้าที่รับผิดชอบดูแลในการอนุรักษ์รักษา ปกป้อง คุ้มครองสิ่งแวดล้อม ศิลปกรรม อันเป็นมรดกทางวัฒนธรรมของท้องถิ่น เนื่องจากการอนุรักษ์แหล่งมรดกทางวัฒนธรรมของชาติที่ผ่านมา ไม่ประสบผลสำเร็จเท่าที่ควร ทั้งนี้เป็นเพราะขาดการคำนึงถึงปัญหาสิ่งแวดล้อม ที่อยู่โดยรอบ และขาดความร่วมมือจากประชาชนในท้องถิ่นอย่างจริงจัง
แผนพัฒนาการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมศิลปกรรม ของคณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ ได้จัดตั้งหน่วยอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมธรรมชาติและศิลปกรรมท้องถิ่น ทั้ง ๗๖ จังหวัด โดยให้ตั้งอยู่ในสถาบันการศึกษาที่มีอยู่แล้วทุกจังหวัดในท้องถิ่น เพื่อให้มีบทบาทในการช่วยเสริมสร้างความรู้ ความเข้าใจในคุณค่าและความสำคัญของแหล่งศิลปกรรมและแหล่งธรรมชาติ รวมถึงความสำคัญของสิ่งแวดล้อมศิลปกรรม และสิ่งแวดล้อมธรรมชาติที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับประชาชน และเพื่อให้เป็นหน่วยติดตามตรวจสอบดูแล ป้องกัน โดยให้ประชาชน เป็นผู้ปกป้องดูแลรักษาสมบัติของท้องถิ่นและ ของชาติ โดยภาครัฐเป็นผู้สนับสนุนงบประมาณ
ปัจจุบันหน่วยอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมธรรมชาติและศิลปกรรมท้องถิ่นมีทั้งหมด ๗๖ หน่วย (ยกเว้นกรุงเทพมหานคร) ซึ่งตั้งอยู่ในมหาวิทยาลัยราชภัฏ ๒๙ แห่ง สถาบันเทคโนโลยีราชมงคล ๒ แห่ง โรงเรียน ๔๒ แห่ง สถาบันการพลศึกษา ๓ แห่ง
หน่วยงานต้นสังกัด
หน่วยงานต้นสังกัด :
กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
หน่วยงานผู้รับผิดชอบ :
สำนักงานนโยบายและแผนพัฒนาทรัพยากรธรรมชาติ
และสิ่งแวดล้อม
หน่วยงานดำเนินการ :
กองจัดการสิ่งแวดล้อมธรรมชาติและศิลปกรรม
หน่วยงานติดตามประเมินผล :
กลุ่มจัดการสิ่งแวดล้อมศิลปกรรม
วิสัยทัศน์ (Vision) :
" สร้างสมดุลทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืน "
พันธกิจ :
๑. จัดทำนโยบายและแผนแบบบูรณาการ การพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมการรักษาสภาพแวดล้อม และผลกระทบต่อชุมชน
๒. สร้างความร่วมมือกับเครือข่ายชุมชน หน่วยงานภาครัฐเอกชน ในการนำนโยบายแผนมาตรการสู่การปฏิบัติ
๓. ติดตามประเมินผลเสนอแนะและรายงานผลบริหารจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
๔. สร้างความรู้ความเข้าใจทุกภาคส่วนและสื่อสารเพื่อให้เกิดการพัฒนาอย่างยั่งยืน
๕. ยกระดับการบริหารจัดการทรัพยากรขององค์กรสู่ความเป็นเลิศ
นโยบายหลัก
นโยบายและแผนการส่งเสริมและรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ ประกอบด้วย นโยบายหลัก ๖ ประการ ดังนี้
๖.๑ นโยบายทรัพยากรธรรมชาติ
๑) เพิ่มประสิทธิภาพการใช้ทรัพยากรธรรมชาติ ประสานการใช้ประโยชน์และลดปัญหาความขัดแย้ง รวมทั้งเร่งรัดและฟื้นฟูทรัพยากรธรรมชาติที่เสื่อมโทรมให้เป็นปัจจัยพื้นฐานของการพัฒนาที่ยั่งยืน
๒) เพิ่มประสิทธิภาพการบริหารและการจัดการทรัพยากร ธรรมชาติ โดยการกระจายอำนาจการบริหารและการจัดการจากส่วนกลางไปสู่ส่วนภูมิภาคอย่างเป็นระบบ รวมทั้งเสริมสร้างพลังความร่วมมือระหว่าง ภาครัฐ ภาคเอกชน องค์กรเอกชน และประชาชน
๓) สนับสนุนการใช้หลักการทางเศรษฐศาสตร์สิ่งแวดล้อม เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการจัดการทรัพยากรธรรมชาติ และสร้างความเป็นธรรมในสังคม
๔) ปรับปรุงกฎหมายระเบียบข้อบังคับเพื่อสนับสนุนการบริหารและการจัดการทรัพยากร ธรรมชาติให้มีประสิทธิภาพรวมทั้งรองรับสิทธิและหน้าที่การเป็นเจ้าของทรัพยากรธรรมชาติ
๕) สนับสนุนการศึกษาวิจัยและเสริมสร้างโครงข่ายพื้นฐานระบบข้อมูลทรัพยากรธรรมชาติ ให้เป็นมาตรฐานเดียวกัน
๖) ส่งเสริมการสร้างจิตสำนึกและจิตวิญญาณด้านการอนุรักษ์ ให้แก่ผู้บริหารในหน่วยงานของรัฐ นักการเมืองทุกระดับ ภาคเอกชน และประชาชนทั่วไป เพื่อให้เกิดการประสานแนวคิดทางด้านการพัฒนาและการอนุรักษ์ให้เป็นไปในทิศทางเดียวกัน
๖.๒ นโยบายป้องกันและขจัดมลพิษ
๑) ลดและควบคุมปัญหามลพิษอันเนื่องมาจากชุมชน เกษตรกรรม อุตสาหกรรม คมนาคม และกิจกรรมก่อสร้าง ไม่ให้ส่งผลกระทบต่อสุขภาพอนามัยและความเป็นอยู่ของประชาชน รวมทั้งฟื้นฟูคุณภาพสิ่งแวดล้อมในพื้นที่ที่มีความสำคัญทางเศรษฐกิจ เพื่อให้ทรัพยากร ธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมเกิดสมดุลของระบบนิเวศ และเป็นฐานการพัฒนาที่ยั่งยืน
๒) สนับสนุนให้มีการจัดการของเสียและสารอันตรายอย่างเป็นระบบและมีประสิทธิภาพ พร้อมทั้งจัดให้มีระบบป้องกันและแก้ไขกรณีฉุกเฉินเมื่อเกิดอุบัติภัยขนาดใหญ่
๓) พัฒนาระบบการบริหารและการจัดการมลพิษให้เกิดเอกภาพในการกำหนดนโยบายแผน และแนวทางปฏิบัติ ทั้งนี้กฎหมาย องค์กร และเงินทุน ต้องมีความสอดคล้องและสนับสนุนให้การดำเนินการบริหารและการจัดการมลพิษที่มีประสิทธิภาพ โดยให้ผู้ก่อมลพิษต้องรับผิดชอบ รวมทั้ง การให้เอกชนมีส่วนร่วมในการลงทุน และมีการประสานความร่วมมือในการจัดการมลพิษ โดยภาครัฐ ภาคเอกชน และประชาชน
๖.๓ นโยบายแหล่งธรรมชาติและแหล่งศิลปกรรม
ป้องกัน สงวนรักษา อนุรักษ์ และฟื้นฟู แหล่งธรรมชาติและแหล่งศิลปกรรม ให้มีศักยภาพที่เหมาะสมและเป็นมรดกทางธรรมชาติและวัฒนธรรมของประเทศ
๖.๔ นโยบายสิ่งแวดล้อมชุมชน
ให้มีการจัดการสิ่งแวดล้อมชุมชนและพื้นที่สีเขียว เพื่อเสริมสร้างคุณภาพชีวิตของประชาชน ในชุมชนให้ดีขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยให้มีวิถีชีวิตที่เหมาะสม ถูกสุขลักษณะ มีความปลอดภัยและความสวยงาม สอดคล้องกับระบบนิเวศทางธรรมชาติ เศรษฐกิจ สังคม วัฒนธรรม และเทคโนโลยี
๖.๕ นโยบายการศึกษาและประชาสัมพันธ์เพื่อสิ่งแวดล้อม
เสริมสร้างสมรรถนะของชุมชนในทุกระดับให้มีความเข้มแข็งและเกิดขบวนการความร่วมมือในกาiจัดการ สิ่งแวดล้อมอย่างมีประสิทธิภาพ
๖.๖ นโยบายเทคโนโลยีเพื่อสิ่งแวดล้อม
พัฒนาและส่งเสริมการใช้เทคโนโลยีเพื่อการจัดการคุณภาพสิ่งแวดล้อม
แผนงานที่ ๑ (แผนงานหลัก)
ลักษณะของแผนงาน
การดำเนินงานการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมธรรมชาติและศิลปกรรม แผนพัฒนาการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมศิลปกรรม และแผนขับเคลื่อนงานอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมธรรมชาติและศิลปกรรม ระดับจังหวัด ๔ แผนงาน ดังนี้
แผนงานที่ ๑ การบริหารหน่วยอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมธรรมชาติและศิลปกรรมท้องถิ่น
กิจกรรม (บังคับ)
๑) การประชุมคณะอนุกรรมการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมธรรมชาติและศิลปกรรม ประจำ
จังหวัด
๒) การเข้าร่วมประชุมภาคีประจำปี และภาคีกลุ่มจังหวัด
๓) การรายงานความเคลื่อนไหว กิจกรรม ข่าวสาร การดำเนินงานอขงหน่วยอนุรักษ์ฯ
ในช่องทางโซเซียลมีเดีย เพื่อประชาสัมพันธ์
แผนงานที่ ๒ ประกาศเขตอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมธรรมชาติและศิลปกรรม
อันควรอนุรักษ์เป็นมรดกจังหวัด
กิจกรรม ๑) การประกาศแหล่งธรรมชาติและแหล่งศิลปกรรม อันควรอนุรักษ์
(มรดกจังหวัด)
โครงการ ประกาศย่านชุมชนเก่านาปัง ตำปังนาปัง อำเภอภูเพียง จังหวัดน่าน และ
ย่านชุมชนเก่าบ้านดอนไชย ตำบลกลางเวียง อำเภอเวียงสา จังหวัดน่าน
เป็นมรดกจังหวัด
กิจกรรม ๒) การจัดทำแผน แนวทาง มาตรการ เพื่ออนุรักษ์แหล่งธรรมชาติและ
แหล่งศิลปกรรม
โครงการ การจัดทำแผน แนวทาง มาตรการเพื่ออนุรักษ์แหล่งธรรมชาติ
และแหล่งศิลปกรรม
แผนงานที่ ๓ การเผยแพร่ความรู้เรื่องการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมธรรมชาติและ
ศิลปกรรม
กิจกรรม ๑) การอบรม สัมมนา พัฒนาศักยภาพ
กิจกรรม ๒) การจัดทำทะเบียนที่เกี่ยวกับการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมธรรมชาติและศิลปกรรมท้องถิ่น
กิจกรรม ๓) การสนับสนุนพื้นที่แหล่งเรียนรู้
กิจกรรมที่ ๔) การจัดทำหลักสูตรท้องถิ่น
แผนงานที่ ๔ ระบบข้อมูลเพื่อการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมธรรมชาติและศิลปกรรมของประเทศ
กิจกรรม ๑) การลงระบบฐานข้อมูลแหล่งศิลปกรรมอันควรอนุรักษ์ โดยสำรวจแหล่งศิลปกรรม Culturalenvi.onep.go.th
โครงการการสำรวจแหล่งศิลปกรรมในจังหวัดน่าน ลงในฐานข้อมูลแหล่งศิลปกรรมของหน่วยงาน สผ. (culturalenvi.onep.go.th)
กิจกรรม ๒) การจัดทำข้อมูลแผนที่วัฒนธรรม
กิจกรรม ๓) การจัดทำฐานข้อมูลองค์ประกอบย่านชุมชนเก่า โดยเลือกจากย่านชุมชนในทะเบียนของ สผ. Ocd.onep.go.th ก่อน.
************************************************
การอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมธรรมชาติและศิลปกรรม
พิธีการรับมอบโล่เชิดชูเกียรติและเกียรติบัตรผู้ทำคุณประโยชน์ด้านการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมธรรมชาติและศิลปกรรมท้องถิ่น วันที่ 27 มีนาคม 2562 ณ จังหวัดสงขลา
ท่านผู้ว่าราชการจังหวัดน่าน นายวรกิตติ ศรีทิพากร ผู้ว่าราชการจังหวัดน่าน /ตัวแทนผู้รับมอบ นายสมเจตน์วิมลเกษม ผู้ทรงคุณวุฒิ หน่วยอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมธรรมชาติและศิลปกรรมท้องถิ่นจังหวัดน่าน