หน่วยอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมธรรมชาติและศิลปกรรมท้องถิ่นจังหวัดน่าน 

หน่วยอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมธรรมชาติและศิลปกรรมท้องถิ่นจังหวัดน่าน 

เมนู

แผนงานหน่วยอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมธรรมชาติและศิลปกรรมท้องถิ่น

การดำเนินงานของหน่วยอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมธรรมชาติและศิลปกรรมท้องถิ่น ระดับจังหวัด  

ตามแผนพัฒนาการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมศิลปกรรม  ประกอบด้วย ๔ แผนงานหลัก ดังนี้-

แผนงานที่ ๑  การบริหารหน่วยอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมธรรมชาติและศิลปกรรมท้องถิ่น

แผนงานที ๒  การประกาศเขตอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมศิลปกรรม

แผนงานที่ ๓  การอบรมสัมมนาเผยแพร่ความรู้เรื่องการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมธรรมชาติและศิลปกรรมท้องถื่น

แผนงานที่ ๔  การพัฒนาระบบข้อมูลเพื่อการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมธรรมชาติและศิลปกรรรมท้องถิ่น

******************************************************************-

แผนงานที่ ๑  การบริหารหน่วยอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมธรรมชาติและศิลปกรรมท้องถิ่นประจำจังหวัด

วัตถุประสงค์

  1. สำรวจตรวจสอบและติดตามปัญหาสิ่งแวดล้อมธรรมชาติและศิลปกรรมและจัดทำรายงานสถานการณ์สิ่งแวดล้อมธรรมชาติและศิลปกรรมของท้องถิ่น
  2. เฝ้าระวังและรักษาการคงสภาพสิ่งแวดล้อมธรรมชาติและศิลปกรรมท้องถิ่นจังหวัดน่านอย่างยั่งยืน โดยให้เป็นไปตามแผนพัฒนาการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมศิลปกรรมท้องถิ่น
  3. สนับสนุนองค์กรปกครองท้องถิ่นและภาคีเครือข่ายในพื้นที่จังหวัดน่าน ให้เข้าไปมีส่วนร่วมในการบำรุงรักษาและหาแนวทางการอนุรักษ์ธรรมชาติ ตามมติคณะรัฐมนตรีได้อย่างมีประสิทธิภาพและประสิทธิผลอันจะก่อให้เกิดประโยชน์ส่วนรวมต่อท้องถิ่นและประเทศชาติ
  4. ขยายเครือข่ายด้านการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมศิลปกรรม เพื่อการสร้างคุณภาพสิ่งแวดล้อมที่ดีให้กับประชาชนในการพัฒนาคนและสังคมให้มีสำนึกรับผิดชอบต่อสิ่งแวดล้อม
  5. มุ่งเน้นการสร้างรากฐานให้ประชาชนในท้องถิ่นชุมชนมีวิถีชีวิตที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมบนพื้นฐานของความรู้ที่ถูกต้องในการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและดูแลรักษาสิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืน

แนวทางการดำเนินงาน

  1. จัดทำแผนงาน / โครงการ ที่สอดคล้องกับบทบาทหน้าที่หลักของหน่วยอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมธรรมชาติและศิลปกรรมท้องถิ่นและสอดคล้องกับรัฐธรรมนูญนโยบายรัฐบาล แผนการจัดการคุณภาพสิ่งแวดล้อม และแผนพัฒนาจังหวัดในส่วนที่เกี่ยวข้อง และนำเสนอ สผ.เพื่อพิจารณาสนับสนุนงบประมาณอุดหนุนประจำปี
  2. ติดตามตรวจสอบ และรายงานผลการสำรวจและติดตามตรวจสอบสภาพแวดล้อมของแหล่งธรรมชาติและแหล่งศิลปกรรมส่งให้ สผ. (ใช้แบบสำรวจของ สผ.)
  3. จัดประชุมคณะกรรมการประจำหน่วยอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมธรรมชาติและศิลปกรรมท้องถิ่นอย่างน้อยปีละ ๑ – ๒ ครั้ง และส่งรายงานการประชุมให้ สผ.
  4. จัดประชุมคณะอนุกรรมการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมธรรมชาติและศิลปกรรมประจำจังหวัดอย่างน้อยปีละ ๑ – ๒ ครั้ง และส่งรายงานการประชุมให้ สผ.
  5. สร้างเครือข่ายอบรม/สัมมนา ให้จัดทำทะเบียนเครือข่ายที่ได้ดำเนินการทุกครั้งในแต่ละปี และจัดทำรายงานสรุปผลการอบรม/สัมมนา และการประเมินผลการจัดอบรม/สัมมนา ส่งให้ สผ.
  6. จัดทำรายงานสถานการณ์สิ่งแวดล้อมธรรมชาติและศิลปกรรม ปีละ ๑ ครั้ง และส่งรายงานให้ สผ.
  7. จัดทำรายงานสรุปผลการดำเนินงานประจำปีงบประมาณ ส่งให้ สผ. ก่อนสิ้นสุดปีงบประมาณของทุกปี
  8. ประชุมร่วมกับหน่วยงาน ทั้งส่วนกลางและส่วนท้องถิ่น ที่สอดคล้องกับบทบาทหน้าที่ที่เกี่ยวข้อง


แผนงานที่ ๒  แผนงานประกาศเขตอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมศิลปกรรม

 วัตถุประสงค์

  1. เพื่อให้มีการกำหนดพื้นที่เป้าหมายและขอบเขตของพื้นที่ที่มีแหล่งศิลปกรรม หรือแหล่งธรรมชาติที่คาดว่าอยู่ในสถานการณ์ที่มีปัญหาเร่งด่วน หรืออาจได้รับผลกระทบจากโครงการพัฒนาหรือกิจกรรมที่ไม่เหมาะสม จึงจำเป็นต้องดำเนินการประกาศเขตอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมธรรมชาติ หรือเขตอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมศิลปกรรม
  2. เพื่อให้มีการควบคุมการใช้ประโยชน์ที่ดินโดยรอบ มิให้เกิดผลกระทบต่อแหล่งศิลปกรรมหรือแหล่งธรรมชาติที่สำคัญอันควรอนุรักษ์
  3. เพื่อให้มีการอนุรักษ์ คุ้มครอง ป้องกัน และฟื้นฟู คุณภาพสิ่งแวดล้อมธรรมชาติและศิลปกรรมในพื้นที่อันควรอนุรักษ์มิให้มีกิจกรรม หรือโครงการพัฒนาที่จะเกิดขึ้น ซึ่งเป็นภัยคุกคามต่อสภาพแวดล้อมของแหล่งธรรมชาติ และแหล่งศิลปกรรม ทั้งในระยะเร่งด่วน และระยะยาว
  4. เพื่อให้มีแผนการจัดการ และมาตรการคุ้มครองคุณภาพสิ่งแวดล้อมธรรมชาติและศิลปกรรมที่เหมาะสม

แนวทางการดำเนินงาน

  1. ศึกษา รวบรวม และวิเคราะห์ข้อมูล ของแหล่งธรรมชาติและศิลปกรรมที่สำคัญในท้องถิ่น/จังหวัดที่ควรค่าแก่การอนุรักษ์ในด้านต่างๆ เช่น สภาพทางกายภาพ สภาพปัจจุบัน ปัญหา สาเหตุ สภาพแวดล้อม
  2. ทางธรรมชาติและทางวัฒนธรรม โครงการพัฒนา หรือกิจกรรมที่จะเข้ามาในพื้นที่หรือเกิดขึ้นแล้วมีผลกระทบต่อคุณภาพสิ่งแวดล้อมธรรมชาติและศิลปกรรม
  3. กำหนดขอบเขตพื้นที่ที่จะอนุรักษ์ และคุ้มครองให้เหมาะสมพร้อมแผนที่/แผนผังประกอบโดยพิจารณาจากผลการศึกษาวิเคราะห์ข้อมูลของพื้นที่เป้าหมายทั้งหมด
  4. พิจารณา วิเคราะห์ รายละเอียดของประเด็นปัญหาสิ่งแวดล้อมธรรมชาติและศิลปกรรม ที่อยู่ในระดับเร่งด่วน หรือเป็นอันตรายที่จะต้องป้องกัน แก้ไข และอนุรักษ์องค์ประกอบ หรือสภาพแวดล้อมของแหล่งธรรมชาติ และแหล่งศิลปกรรม แหล่งนั้น เพื่อประกอบการจัดทำแผนและมาตรการอนุรักษ์ คุ้มครอง ฟื้นฟู คุณภาพสิ่งแวดล้อมของแหล่งธรรมชาติและแหล่งศิลปกรรมนั้นต่อไป


แผนงานที่ ๓  แผนงานอบรม สัมมนาเผยแพร่ความรู้เรื่องการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมธรรมชาติและศิลปกรรมท้องถิ่น

วัตถุประสงค์

  1. เพื่อให้บุคลากรในท้องถิ่น หรือชุมชนที่เข้ารับการอบรมเป็นเครือข่ายเฝ้าระวังในแต่ละชุมชน และท้องถิ่นที่มีแหล่งธรรมชาติ หรือแหล่งศิลปกรรม ที่สำคัญอันควรค่าแก่การอนุรักษ์
  2. เพื่ออบรมบุคลากรในระดับท้องถิ่น หรือชุมชนให้มีความรู้ความเข้าใจ  เรื่องการอนุรักษ์  คุ้มครอง และฟื้นฟูคุณภาพสิ่งแวดล้อมธรรมชาติและศิลปกรรม อย่างยั่งยืน
  3. เพื่อเพิ่มศักยภาพของบุคลากรในท้องถิ่นให้มีศักยภาพในการอนุรักษ์ ฟื้นฟู ดูแล รักษา คุณภาพสิ่งแวดล้อมธรรมชาติและศิลปกรรม ที่มีอยู่ในแต่ละชุมน และท้องถิ่นนั้นๆ ได้อย่างเหมาะสม
  4. เพื่อให้บุคลากรในท้องถิ่นที่เข้ารับการอบรมสัมมนานำความรู้ที่ได้รับไปใช้ให้เกิดผลในทางปฏิบัติ ในพื้นที่ที่เฝ้าระวังติดตามตรวจสอบ

แนวทางการดำเนินงาน

  1. พิจารณากลุ่มเป้าหมายที่อยู่ในพื้นที่ที่มีแหล่งธรรมชาติ หรือแหล่งศิลปกรรมที่มีปัญหาเร่งด่วน หรือคาดว่ากำลังอยู่ในภาวะอันตราย หรือถูกคุกคามจากโครงการพัฒนา หรือกิจกรรมใดกิจกรรมหนึ่งที่อาจก่อให้เกิดผลกระทบต่อคุณภาพสิ่งแวดล้อมศิลปกรรมและธรรมชาติในพื้นที่นั้นๆ
  2. พิจารณาบุคลากรในชุมชนท้องถิ่น ซึ่งเป็นกลุ่มที่อยู่ในพื้นที่เป้าหมาย และจำนวนผู้เข้าร่วมไม่ควรเกิน ๔๐-๕๐ คน ในแต่ละครั้ง และระบุจำนวนครั้งที่จะจัดอบรมให้ชัดเจน
  3. เสริมสร้างความรู้ทางด้านวิชาการที่เกี่ยวกับการอนุรักษ์ คุ้มครอง และฟื้นฟูคุณภาพสิ่งแวดล้อมธรรมชาติและศิลปกรรม ในหลักวิชาการที่เหมาะสม รวมทั้งให้มีการรับฟังความคิดเห็น/ข้อเสนอแนะ และแลกเปลี่ยนความรู้เพื่อนำมาสรุปแนวทาง การอนุรักษ์ แก้ไข ฟื้นฟู ดุแลรักษา และดำเนินการในพื้นที่นั้นๆ
  4. การจัดอบรมแต่ละครั้งให้จัดทำทะเบียนเครือข่าย และกำหนดผู้ประสานงานเครือข่ายในแต่ละกลุ่มเป้าหมาย ในแต่ละชุมชน และแต่ละท้องถิ่น เพื่อประโยชน์ในการติดต่อประสานงาน


แผนงานที่ ๔  แผนงานการพัฒนาระบบข้อมูลเพื่อการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมธรรมชาติและศิลปกรรมท้องถิ่น

วัตถุประสงค์

  1. เพื่อให้หน่วยอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมธรรมชาติและศิลปกรรมท้องถิ่น มีระบบข้อมูลด้านการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมธรรมชาติและศิลปกรรมทุกหน่วย
  2. เพื่อให้ข้อมูลด้านสิ่งแวดล้อมธรรมชาติ และสิ่งแวดล้อมศิลปกรรมของแหล่งธรรมชาติและแหล่งศิลปกรรมที่มีอยู่ในพื้นที่ในแต่ละชุมชน มีการจัดเก็บข้อมูลไว้ในระบบข้อมูล ที่เป็นรูปแบบเดียวกัน และมีความละเอียด
  3. เพื่อให้ระบบข้อมูลด้านสิ่งแวดล้อมธรรมชาติ และศิลปกรรมเป็นส่วนหนึ่งของการเผยแพร่ความรู้ด้านการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมธรรมชาติ และสิ่งแวดล้อมศิลปกรรมสู่สาธารณชน ท้องถิ่น และจังหวัด อีกทั้งมีการนำไปใช้ประโยชน์อย่างเป็นรูปธรรม
  4. เพื่อให้หน่วยอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมธรรมชาติ ศิลปกรรมท้องถิ่นมีการพัฒนาข้อมูลให้ทันสมัยอย่างต่อเนื่อง และสามารถนำไปใช้ประโยชน์ในการจัดทำแผนอนุรักษ์คุ้มครอง และฟื้นฟูคุณภาพสิ่งแวดล้อมธรรมชาติ และศิลปกรรม ทั้งในระดับท้องถิ่น และระดับจังหวัดอย่างมีประสิทธิภาพและประสิทธิผลที่ชัดเจน

แนวทางการดำเนินงาน

  1. จัดทำระบบฐานข้อมูลภายใต้เว็บไซต์ของ สผ.เพื่อให้หน่วยอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมธรรมชาติและศิลปกรรมท้องถิ่น สามารถดาวน์โหลดและกรอกข้อมูลตามแบบสำรวจที่กำหนด จากนั้นจัดส่งให้ สผ.โดยทางจดหมายอิเล็กโทรนิกส์ (e-mail) หรือทางไปรษณีย์ ข้อมูลเบื้องต้นประกอบด้วยข้อมูลทำเนียบหน่วยอนุรักษ์ฯ ข้อมูลด้านสิ่งแวดล้อมธรรมชาติและศิลปกรรม (ตำแหน่ง ที่ตั้ง ภาพถ่าย สภาพปัญหา ฯลฯ)
  2. หน่วยอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมธรรมชาติและศิลปกรรมท้องถิ่นจังหวัด ควรปรับปรุงข้อมูลให้ทันสมัยอย่างน้อยปีละ ๑ ครั้ง ตามรอบปีงบประมาณ ภายใน ๓๐ กันยายนของทุกปี
  3. ข้อมูลดังกล่าว จะนำไปใช้เป็นแนวทางการวางแผนการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมธรรมชาติและศิลปกรรม และใช้ประกอบการพิจารณากลั่นกรองโครงการที่เกี่ยวข้องกับสิ่งแวดล้อมธรรมชาติและศิลปกรรม รวมทั้งใช้ประโยชน์อื่นที่เกี่ยวข้องตามที่หน่วยงานต่างๆ ประสานขอความร่วมมือ

 

แนวทางในการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมศิลปกรรม

  1. ปลูกจิตสำนึกให้หน่วยงานของรัฐและประชาชนได้ตระหนักถึงความสำคัญและคุณค่าของแหล่งศิลปกรรมซึ่งเป็นมรดกทางวัฒนธรรมของท้องถิ่น
  2. บทบาทหน้าที่ของหน่วยงานภาครัฐที่รับผิดชอบ จะต้องเอาใจใส่และวางแนวทางในการดำเนินงานดังนี้ 1) ประเมินคุณค่าโบราณสถานแต่ละแห่ง 2) ประกาศขึ้นทะเบียนโบราณสถาน 3) ตรวจรักษาซ่อมแซมบูรณะ 4) บริหารจัดการให้ทรง 5)คุณค่าตลอดไปแต่ทั้งนี้มิใช่หน่วยงานใดหน่วยงานหนึ่งที่จะรับผิดชอบดำเนินการเพียงลำพัง แต่ควรจะให้ชุมชนที่อยู่ในท้องถิ่นของแหล่งศิลปกรรมได้ช่วยเหลือและรับผิดชอบร่วมกัน เพื่อเป็นการสร้างจิตสำนึกให้เกิดความรัก และหวงแหน อีกทั้งเห็นคุณค่าของศิลปกรรมที่อยู่ในท้องถิ่นของตนเอง
  3. จัดให้มีเครือข่ายเฝ้าระวัง ประกอบด้วย ประชาชนในท้องถิ่น วัด หน่วยงานต่างๆ ในพื้นที่เพื่อเป็นแนวร่วมในการช่วยกันดูแล และอนุรักษ์แหล่งโบราณสถานที่อยู่ในท้องถิ่นของตนเอง


ประโยชน์ที่จะได้รับ

  1. ช่วยเสริมคุณค่าและความสำคัญของแหล่งศิลปกรรมซึ่งถือว่าเป็นทรัพยากรทางการพัฒนาการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมศิลปกรรมวัฒนธรรม
  2. ช่วยให้เกิดความภาคภูมิใจในอารยธรรมอันเก่าแก่ของชาติ
  3. ช่วยให้เกิดความสามัคคีในการร่วมมือร่วมใจ ดูแล ปกป้องและรักษา แหล่งศิลปกรรมที่เป็นมรดกทางวัฒนธรรมของชาติให้คงอยู่ต่อไป
  4. ช่วยเสริมสร้างชื่อเสียงที่ดีงามทางด้านศิลปวัฒนธรรมให้แก่ประเทศชาติ
  5. ช่วยเสริมสร้างสภาพแวดล้อมที่ดีให้แก่ชุมชน
  6. ช่วยยกระดับคุณภาพทรัพยากรบุคคลให้มีมาตรฐานสูงขึ้น

         อย่างไรก็ตามการแก้ไขปัญหาไม่อาจทำได้โดยหน่วยงานใดเพียงหน่วยงานหนึ่ง หรือกิจกรรมใดกิจกรรมหนึ่ง แต่ต้องเริ่มตั้งแต่การปลูกฝังจิตสำนึกให้กับประชาชน และเยาวชนให้เกิดความรักและหวงแหนในสมบัติของท้องถิ่น ซึ่งเป็นสมบัติของชาติ หากสามารถจูงใจให้ผู้ที่อยู่อาศัยรอบบริเวณโบราณสถานต่างๆ ช่วยดูแลรักษา โดยให้รู้สึกว่าเป็นส่วนหนึ่งในชุมชน สามารถได้ประโยชน์จากพื้นที่เหล่านั้น ก็จะเป็นประโยชน์อย่างยิ่ง ทั้งนี้จะต้องอาศัยความร่วมมือของภาคีในหลายภาคส่วน ทั้งในการเฝ้าระวัง ติดตาม รวมทั้งส่งเสริมความรู้ความเข้าใจทั้งในทางเทคนิคและการบริหารจัดการให้แก่หน่วยงานที่รับผิดชอบ เพื่อให้แหล่งศิลปกรรมยังคงคุณค่าและความงดงามสืบไป

หน่วยอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมธรรมชาติและศิลปกรรมท้องถิ่นจังหวัดน่าน
X