หน่วยอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมธรรมชาติและศิลปกรรมท้องถิ่นจังหวัดน่าน 

หน่วยอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมธรรมชาติและศิลปกรรมท้องถิ่นจังหวัดน่าน 

เมนู

หน่วยอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมธรรมชาติและศิลปกรรมท้องถิ่นจังหวัดน่าน ประจำปีงบประมาณ 2567

การบริหารแผนงาน/โครงการ หลัก

ความสอดคล้องกับ ยุทธศาสตร์ชาติ ระยะ 20 ปี (พ.ศ. 2561 - 2580)

ยุทธศาสตร์   สิ่งแวดล้อมธรรมชาติและศิลปกรรม

ยุทธศาสตร์ที่ 1  การจัดการคุณภาพสิ่งแวดล้อมธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมศิลปกรรม

                อนุรักษ์ คุ้มครอง ฟื้นฟูและใช้ประโยชนสิ่งแวดล้อมธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมศิลปกรรมอย่างสมดุล ด้วยการมีส่วนร่วมของประชาชน เพื่อเป็นฐานการพัฒนาที่ยั่งยืน

 ยุทธศาสตร์ที่ 2  การพัฒนาศักยภาพทรัพยากรมนุษย์  

                เกิดความตระหนักรับรู้รับผิดชอบและเฝ้าระวังรักษาสิ่งแวดล้อมธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมศิลปกรรมของประชาชนในทุกระดับ

 

ยุทธศาสตรที่ 3  การพัฒนาเครื่องมือ กลไก การบริหารจัดการ เสริมสร้างและสนับสนุน

                เพื่อเพิ่มความเข้มแข็งและประสิทธิภาพแก่ระบบบริหารจัดการสิ่งแวดล้อมธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมศิลปกรรมของประเทศ

 

-*******************************************-

 

แผนงาน และโครงการ 

ลักษณะของแผนงาน

        การดำเนินงานตามแผนงานโครงการ ของสำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม กองจัดการสิ่งแวดล้อมธรรมชาติและศิลปกรรม ตามแผนยุทธศาสตรชาติ 20 ป,

          ยุทธศาสตร์ที่ 3  การพัฒนาเครื่องมือ กลไก การบริหารจัดการเพื่ออนุรักษ์สิ่งแวดล้อมธรรมชาติและศิลปกรรมท้องถิ่น จะเป็นการดำเนินงานตามแผนพัฒนาการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมและศิลปกรรม


แผนงานและโครงการ ปีงบประมาณ 2567   ของหน่วยอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมธรรมชาติและศิลปกรรมท้องถิ่นจังหวัดน่าน

แผนงานที่ ๑   การบริหารหน่วยอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมธรรมชาติและศิลปกรรมท้องถิ่น

    กิจกรรม (บังคับ)

๑) การประชุมคณะอนุกรรมการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมธรรมชาติและศิลปกรรมประจำจังหวัด

๒) การเข้าร่วมประชุมภาคีประจำปี และภาคีกลุ่มจังหวัด

๓) การรายงานความเคลื่อนไหว กิจกรรม ข่าวสาร การดำเนินงานของหน่วยอนุรักษ์ฯ ในช่องทางโซเซียลมีเดีย เพื่อประชาสัมพันธ์ 


แผนงานที่ ๓   การเผยแพร่ความรู้เรื่องการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมธรรมชาติและศิลปกรรม

กิจกรรม ๑)  การอบรม สัมมนา พัฒนาศักยภาพ

กิจกรรม ๒) การจัดทำทะเบียนที่เกี่ยวกับการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมธรรมชาติและศิลปกรรมท้องถิ่น

กิจกรรม ๓) การสนับสนุนพื้นที่แหล่งเรียนรู้

กิจกรรม ๔) การจัดทำหลักสูตรท้องถิ่น


แผนงานที่ ๔  ระบบข้อมูลเพื่อการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมธรรมชาติและศิลปกรรมของประเทศ

กิจกรรม ๑) การลงระบบฐานข้อมูลแหล่งศิลปกรรมอันควรอนุรักษ์ โดยสำรวจแหล่งศิลปกรรม Culturalenvi.onep.go.th

โครงการการสำรวจแหล่งศิลปกรรมในจังหวัดน่าน ลงในฐานข้อมูลแหล่งศิลปกรรมของหน่วยงาน สผ. (culturalenvi.onep.go.th)

กิจกรรม ๒) การจัดทำข้อมูลแผนที่วัฒนธรรม

กิจกรรม ๓) การจัดทำฐานข้อมูลองค์ประกอบย่านชุมชนเก่า โดยเลือกจากย่านชุมชนในทะเบียนของ สผ. Ocd.onep.go.th ก่อน.

                    ************************************************

 

แผนงานหลัก   การบริหารจัดการหน่วยอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมธรรมชาติและศิลปกรรมท้องถิ่น ระดับจังหวัด

แผนงานที่ 1  การบริหารหน่วยอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมธรรมชาติและศิลปกรรมท้องถิ่น

โครงการ  การบริหารจัดการหน่วยอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมธรรมชาติและศิลปกรรมท้องถิ่นจังหวัดน่าน

1.  หลักการและเหตุผล

การอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมศิลปกรรมเป็นการอนุรักษ์แหล่งศิลปกรรมและสภาพแวดล้อมที่มีความเกี่ยวเนื่องสัมพันธ์กันทั้งทางตรงและทางอ้อมศิลปกรรมเป็นมรดกทางวัฒนธรรมของชาติที่ประชาชนทุกคนมีหน้าที่รับผิดชอบ ในการอนุรักษ์อย่างถ้วนหน้ากัน สิ่งแวดล้อมศิลปกรรมเป็นสิ่งส่งเสริมและรักษาคุณค่าตลอดจนคุณภาพของศิลปกรรมให้ ดำรงอยู่และมีความหมายยิ่งขึ้น ดังนั้นการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมศิลปกรรม จึงเป็นเรื่องสำคัญและเป็นหน้าที่ความรับผิดชอบของทุกคนในชาติด้วยการดำเนินการเรื่องนี้เกิดขึ้นตามพระราชบัญญัติส่งเสริมและรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ พ.ศ. 2518 โดยมีแนวคิด ในการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม คือการอนุรักษ์ทั้งศิลปกรรมและสิ่งแวดล้อมที่เกี่ยวข้องกับศิลปกรรมนั้นทั้งทางตรงและทางอ้อมอย่างจริงจังเป็นการดำเนินการที่เกี่ยวข้องและส่งเสริมการควบคุมดูแลรักษาและฟื้นฟูทั้งตัวศิลปกรรมและคุณค่าของศิลปกรรมด้วยการดำเนินงานอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมศิลปกรรมมีสำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมเป็นฝ่ายปฏิบัติการโดยมีคณะอนุกรรมการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมธรรมชาติและศิลปกรรมทำหน้าที่ กำกับดูแลตามพระราชบัญญัติส่งเสริมและรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ พ.ศ. 2535 เป็นการสนับสนุนส่งเสริมและผลักดันให้ส่วนราชการองค์กรเอกชนและประชาชนในพื้นที่ได้ช่วยกันรักษาคุณภาพของสิ่งแวดล้อมศิลปกรรม คือช่วยให้มีการอนุรักษ์ทั้งศิลปกรรมและสิ่งแวดล้อม ที่เกี่ยวข้องกับศิลปกรรมนั้นทั้งทางตรงและทางอ้อมอย่างจริงจังเป็นการดำเนินการที่เกี่ยวข้องและส่งเสริมการควบคุม ดูแลรักษา และฟื้นฟูทั้งตัวศิลปกรรม และคุณค่าของศิลปกรรมไปในตัวด้วย

สิ่งแวดล้อมธรรมชาติ (Natural Environment)

ธรรมชาติที่มีคุณค่าทางวิทยาการและสุนทรียภาพ ที่เกี่ยวข้อง เป็นสัณฐานที่สำคัญทางธรณีวิทยาและภูมิศาสตร์ อันเป็นเอกลักษณ์หรือสัญลักษณ์ของท้องถิ่น นั้นๆ มีลักษณะพิเศษเฉพาะ คือ เมื่อถูกทำลายก็จะหมด สภาพไปไม่สามารถฟื้นฟูคืนสภาพเดิมได้อีก เช่น เกาะ แก่ง ภูเขา ถ้ำ น้ำตก โป่งพุร้อน แหล่งน้ำ ชายหาด ซาก ดึกดำบรรพ์ (พืชและสัตว์) และธรณีสัณฐาน และภูมิลักษณวรรณา 

สิ่งแวดล้อมศิลปกรรม (Cultural Environment)

       สิ่งแวดล้อมและบรรยากาศที่อยู่โดยรอบแหล่งศิลปกรรมที่มีความเกี่ยวเนื่องและมีความสัมพันธ์กันทั้งทางตรงและทางอ้อมศิลปกรรม คือสิ่งที่มนุษย์ได้สร้างหรือกำหนดขึ้น ทั้งในอดีตและปัจจุบัน และได้รับการยกย่องว่ามีคุณค่าทางประวัติศาสตร์ โบราณคดี เทคโนโลยี แบ่งเป็น 1) อนุสาวรีย์ อนุสรณ์สถาน ศาลหลักเมือง 2) วัด วัดร้าง ศาสนสถาน 3) พิพิธภัณฑ์ สถาปัตยกรรม พระราชวัง 4) แหล่งโบราณคดีทั้งที่ขุดแล้วและยังไม่ได้ขุดค้น โบราณวัตถุ เตาเผาโบราณ 5) ชุมชนโบราณ เมืองโบราณ อุทยานประวัติศาสตร์ 6) เมืองเก่า เมืองประวัติศาสตร์ และ 7) ย่านชุมชนเก่า  

          ศิลปกรรม มีความสำคัญต่อการศึกษาความเป็นมาของชาติและความสำคัญของสิ่งแวดล้อมที่มีต่อศิลปกรรมเพราะสิ่งแวดล้อมที่ดีย่อมส่งเสริมและรักษาคุณค่าตลอดจนคุณภาพของศิลปกรรมให้ดำรงอยู่และมีความหมายยิ่งขึ้น ด้วยความตระหนักในความรับผิดชอบต่อการส่งเสริมและรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อม สำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ได้เห็นความสำคัญของการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมศิลปกรรม จึงได้กำหนดเป็นหัวข้อสำคัญ หัวข้อหนึ่งในนโยบายและมาตรการการพัฒนาสิ่งแวดล้อมแห่งชาติในปี พ.ศ. 2527 ได้เสนอแผนพัฒนาการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมศิลปกรรม ต่อคณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติเพื่อนำเสนอต่อคณะรัฐมนตรี ซึ่งในการประชุม คณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 1 พฤษภาคม พ.ศ. 2527 และวันที่ 28 สิงหาคม พ.ศ. 2527 ได้มีมติเห็นชอบให้ดำเนินงานตามแผนดังกล่าวและได้มีการดำเนินงานจนถึงปัจจุบัน  ดังนั้น เพื่อให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับการดำเนินงานเพื่อการอนุรักษ์ สิ่งแวดล้อมธรรมชาติและศิลปกรรม ซึ่งประกอบด้วย ทรัพยากรธรรมชาติและ สิ่งแวดล้อมจังหวัด และหน่วยอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมธรรมชาติและศิลปกรรมท้องถิ่น รวมทั้งหน่วยงานในระดับจังหวัด  มีความรู้ ความเข้าใจในการดำเนินงาน เป็นไปในทิศทางเดียวกัน รวมทั้งเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการดำเนินงานอนุรักษ์ปกป้อง คุ้มครองและฟื้นฟูคุณภาพสิ่งแวดล้อมธรรมชาติและศิลปกรรมในพื้นที่ 76 จังหวัด สำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากร ธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม จึงได้จัดทำคู่มือการ อนุรักษ์สิ่งแวดล้อมธรรมชาติและศิลปกรรมในระดับจังหวัด เพื่อประโยชน์ต่อการดำเนินงานต่อไป

แนวทางการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมศิลปกรรม

1) เร่งรัดและกระตุ้นให้หน่วยงานของรัฐและประชาชนเอาใจใส่ควบคุมดูแล และอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมศิลปกรรมอย่างถูกต้องและเหมาะสม 2) แก้ไขปรับปรุงกฎหมายให้เหมาะสมและได้ผลในทางปฏิบัติอย่างแท้จริง 3) ป้องกันมิให้การพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมเป็นไปในทางที่จะก่อให้เกิดความเสียหายต่อสิ่งแวดล้อมศิลปกรรม 4) เสริมสร้างความรู้ความเข้าใจให้แก่บุคลากรในท้องถิ่นเพื่อทำหน้าที่รับผิดชอบร่วมกันในการคุ้มครองและรักษาสภาพแวดล้อมที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับแหล่งศิลปกรรม 5) ส่งเสริมให้มีการอบรมและสร้างสามัญสำนึกให้ประชาชนเกิดความรู้สึกหวงแหนและเห็นคุณค่าของ ศิลปกรรมและสิ่งแวดล้อมที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับแหล่งศิลปกรรม 6) พัฒนาวิธีการอนุรักษ์มรดกทางวัฒนธรรม ให้เกิดประโยชน์สูงสุดทางด้านเศรษฐกิจและสังคมตามแผนพัฒนาการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมศิลปกรรม 

แนวทางการพัฒนาสิ่งแวดล้อมธรรมชาติและศิลปกรรม  จะต้องอยู่ในกรอบที่กำหนดไว้เท่าที่สามารถรองรับการพัฒนาได้ โดยยังรักษาสภาพแวดล้อมสิ่งแวดล้อมธรรมชาติและศิลปกรรมไว้ ลักษณะนี้เรียกว่า“การพัฒนาเชิงอนุรักษ์” ต้องแยกพื้นที่ออกจากการพัฒนาเชิงเศรษฐกิจให้ชัดเจน โดยกำหนดขอบเขตและพื้นที่เพื่อรองรับการพัฒนาแต่ละประเภทให้ชัดเจน พร้อมทั้งกำหนดความเข้มข้นในการพัฒนาแต่ละพื้นที่ด้วยพื้นที่ที่จะพัฒนาเชิงเศรษฐกิจควรจะห่างจากพื้นที่ที่จะพัฒนาเชิงอนุรักษ์

          ดังนั้น การอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมธรรมชาติและศิลปกรรม คือการควบคุมสภาพแวดล้อมที่อยู่ในเขตธรรมชาติและศิลปกรรมอย่างเหมาะสมมีระดับความเข้มงวดในการควบคุม เป็น 5 ระดับ ดังนี้

1) บรรยากาศ (Atmosphere) หมายถึง ตัวแหล่งธรรมชาติและศิลปกรรมและสิ่งแวดล้อมที่มีความสอดคล้องส่งเสริมซึ่งกันและกัน

2) แหล่งอันควรอนุรักษ์(Nucleus) หมายถึงตัวธรรมชาติและศิลปกรรม ซึ่งเป็นสิ่งสำคัญที่จะต้องอนุรักษ์

3) พื้นที่สงวน (Preservation area) หมายถึง พื้นที่ที่มีคุณค่ามากทางด้านวิชาการ และมีความอ่อนไหวต่อการเปลี่ยนแปลง หรือผลกระทบทำให้ถูกทำลายได้ง่าย ในพื้นที่นี้ห้ามการกระทำใดๆ ที่เป็นการเปลี่ยนแปลงสภาพดั้งเดิมของธรรมชาติและศิลปกรรมโดยเด็ดขาด

4) พื้นที่อนุรักษ์(Conservation area) หมายถึง พื้นที่ใกล้เคียงหรือบริเวณรอบตัวธรรมชาติและศิลปกรรม ซึ่งเมื่อพื้นที่นี้ถูกทำลายย่อมมีผลกระทบต่อการคงอยู่ของตัวธรรมชาติและศิลปกรรมด้วยในบริเวณนี้ยินยอมให้ทำกิจกรรมได้บางประการที่ไม่มีผลต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพพื้นที่มากนัก

5) พื้นที่บริการและการจัดการหรือพัฒนา(Service and Management Area) หมายถึง พื้นที่ข้างเคียงหรือโดยรอบแหล่งธรรมชาติและศิลปกรรมที่มีความเกี่ยวพันกับตัวธรรมชาติและศิลปกรรมน้อยมากจึงยินยอมให้มีการพัฒนาได้ แต่ต้องอยู่ในความควบคุมของหน่วยงานที่ รับผิดชอบว่า กิจกรรมใดที่จะเกิดขึ้นจะไม่ส่งผลกระทบให้เกิดการทำลายคุณค่าของแหล่งธรรมชาติและศิลปกรรม          

          คณะรัฐมนตรีได้มีมติ เมื่อวันที่ 28 สิงหาคม พ.ศ. 2527 เห็นชอบในหลักการของแผนพัฒนาการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมศิลปกรรม โดยมีหลักการมุ่งหมายให้ท้องถิ่นตระหนักและทุกฝ่ายได้มีส่วนร่วมในหน้าที่รับผิดชอบดูแล     ในการอนุรักษ์รักษาปกป้องคุ้มครองสิ่งแวดล้อมศิลปกรรมอันเป็นมรดกทางวัฒนธรรมของท้องถิ่น เนื่องจากการอนุรักษ์แหล่งมรดกทางวัฒนธรรมของชาติที่ผ่านมาไม่ประสบผลสำเร็จเท่าที่ควร ทั้งนี้เป็นเพราะขาดการคำนึงถึงปัญหาสิ่งแวดล้อมที่อยู่โดยรอบ และขาดความร่วมมือจากประชาชนในท้องถิ่นอย่างจริงจังทำแผนพัฒนาการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมศิลปกรรมมีการจัดตั้งหน่วยอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมธรรมชาติและศิลปกรรมท้องถิ่น ทั้ง 76 จังหวัด โดยให้ตั้งอยู่ใน สถาบันการศึกษาที่มีอยู่แล้วทุกจังหวัดในท้องถิ่น เพื่อให้มีบทบาทในการช่วยเสริมสร้างความรู้ ความเข้าใจในคุณค่าและความสำคัญของแหล่งศิลปกรรมและแหล่งธรรมชาติ รวมถึงความสำคัญของสิ่งแวดล้อมศิลปกรรม และสิ่งแวดล้อมธรรมชาติที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับประชาชน และเพื่อให้เป็นหน่วยติดตามตรวจสอบดูแล ป้องกัน โดยให้ ประชาชนเป็นผู้ปกป้องดูแลรักษาสมบัติของท้องถิ่นและของชาติโดยรัฐเป็นผู้สนับสนุน ปัจจุบันหน่วยอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมธรรมชาติและศิลปกรรมท้องถิ่น 76 หน่วย (ยกเว้นกรุงเทพมหานคร) ตั้งอยู่ในมหาวิทยาลัยราชภัฏ 29 แห่ง สถาบันเทคโนโลยีราชมงคล 2 แห่ง โรงเรียน 42 แห่ง และสถาบันการพลศึกษา 3 แห่ง

หน่วยอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมธรรมชาติและศิลปกรรมท้องถิ่น

       มีบทบาทหน้าที่สำคัญในการสนับสนุนการดำเนินงานและประสานงานทางด้านวิชาการในการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมธรรมชาติและศิลปกรรม ร่วมกับหน่วยงานองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ภาคเอกชน สถาบันการศึกษา และประชาชนในท้องถิ่น และองค์กรอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง

หลักการจัดการสิ่งแวดล้อมธรรมชาติและศิลปกรรม

1) อนุรักษ์โดยมองภาพรวม

2) อนุรักษ์สภาพความเป็นดั้งเดิมและมีเอกลักษณ์

3) หากจำเป็นต้องสร้างสิ่งใหม่แล้วจะต้องไม่ลืมว่าบริเวณสิ่งใหม่กับบริเวณมรดกทางวัฒนธรรมจำเป็นจะต้องมีสิ่งกั้นอยู่หรือพื้นที่ที่กั้นอยู่และพื้นที่ที่ดีที่สุดคือพื้นที่สีเขียว

4)อนุรักษ์ซ่อมแซมจะต้องไม่ผิดไปจากสภาพดั้งเดิม

      การดำเนินงานอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมธรรมชาติและศิลปกรรมในระดับจังหวัด  โดยอาศัยอำนาจตามความในมาตรา18 แห่งพระราชบัญญัติส่งเสริมและรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ พ.ศ.2535 คณะกรรมการสิ่งแวดล้อม แห่งชาติ จึงได้แต่งตั้งคณะอนุกรรมการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมธรรมชาติและศิลปกรรมประจำจังหวัด ตามคำสั่งที่ 3/2563 ลงวันที่ 9 มกราคม 2563 เพื่อทำหน้าที่กำกับดูแลประกอบด้วย หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง และผู้ทรงคุณวุฒิ รวม 21 คน โดยมีผู้ว่าราชการจังหวัด เป็นประธานอนุกรรมการ, ผู้อำนวยการสำนักงานทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เป็นอนุกรรมการและเลขานุการซึ่งมีหน้าที่หลัก 1) ประชาสัมพันธ์เผยแพร่ความรู้และสนับสนุนข้อมูลทางด้านวิชาการเกี่ยวกับสิ่งแวดล้อมธรรมชาติและศิลปกรรม ให้แก่หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง และเครือข่ายในท้องถิ่น เพื่อประโยชน์ในการป้องกันและแก้ไขผลกระทบที่จะเกิดขึ้นจาก โครงการพัฒนาต่างๆ ในพื้นที่ที่เป็นแหล่งธรรมชาติและศิลปกรรม  2) ศึกษา รวบรวม บันทึกข้อมูลเกี่ยวกับคุณภาพสิ่งแวดล้อมของแหล่งธรรมชาติและศิลปกรรม โดยการวิเคราะห์และประเมินสถานการณ์ที่คาดว่าจะมีผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมธรรมชาติและศิลปกรรม และให้ส่งข้อมูล รวมทั้งรายงานสถานการณ์ไปยังศูนย์รวมข้อมูลเพื่อการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมธรรมชาติและศิลปกรรมและแหล่งชุมชนโบราณ สผ.  3) สนับสนุนการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมธรรมชาติและศิลปกรรมในแต่ละท้องถิ่นอย่างถูกวิธีเป็นระบบเหมาะสมกับลักษณะทางกายภาพที่อยู่โดยรอบแหล่งธรรมชาติและศิลปกรรม ยังคงรักษาความเป็นเอกลักษณ์สวยงามและโดดเด่นเฉพาะตัวตลอดจนช่วยเหลือประสานงานและสนับสนุนให้มีกลุ่มอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมธรรมชาติและศิลปกรรมหรือเครือข่ายในชุมชน และเสริมสร้างศักยภาพของเครือข่ายในท้องถิ่นให้สามารถดำเนินงานด้านการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมธรรมชาติและศิลปกรรม ได้อย่างมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น 4) ติดตามตรวจสอบ ควบคุมดูแลสิ่งแวดล้อมธรรมชาติและศิลปกรรมในพื้นที่รับผิดชอบ และพื้นที่อื่นๆ ในกรณีที่ไม่มีหน่วยอนุรักษ์ฯ ตั้งอยู่ในท้องถิ่นนั้นๆ 5) ปฏิบัติงานให้เป็นไปตามแผนพัฒนาการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมศิลปกรรมในระดับท้องถิ่น

 2. วัตถุประสงค์

2.1 เพื่อสำรวจ ตรวจสอบ และติดตามปัญหาจัดทำรายงานสถานการณ์สิ่งแวดล้อมธรรมชาติและศิลปกรรม 

2.2 เฝ้าระวัง รักษาการคงสภาพสิ่งแวดล้อมธรรมชาติและศิลปกรรมท้องถิ่น โดยให้เป็นไปตามแผนพัฒนาการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมศิลปกรรมท้องถิ่น

2.3 ให้มีส่วนร่วมขององค์กรปกครองท้องถิ่นและภาคีเครือข่ายในพื้นที่เข้าไปมีบทบาทการบำรุงรักษาการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมธรรมชาติและศิลปกรรม อันจะก่อให้เกิดประโยชน์ส่วนรวมต่อท้องถิ่นและประเทศชาติ

2.4 ขยายเครือข่ายด้านการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมศิลปกรรม เพื่อการสร้างคุณภาพสิ่งแวดล้อมที่ดีให้กับประชาชนในการพัฒนาคนและสังคมให้มีสำนึกรับผิดชอบต่อสิ่งแวดล้อม โดยมุ่งเน้นการสร้างรากฐานให้ประชาชนในท้องถิ่นชุมชนมีวิถีชีวิตที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมบนพื้นฐานของความรู้

ที่ถูกต้องในการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติสิ่งแวดล้อมและศิลปกรรม อย่างยั่งยืน

 3.  ผลผลิต/ตัวชี้วัด

ตัวชี้วัด

3.1 การประชาสัมพันธ์และเผยแพร่ความรู้ความเข้าใจในเรื่องการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมธรรมชาติและศิลปกรรมให้แก่ประชาชนในท้องถิ่นชุมชน การประสานงานและให้ความร่วมมือกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมธรรมชาติและศิลปกรรมในเขตพื้นที่จังหวัดน่าน

3.2 ศึกษารวบรวมติดตามบันทึกข้อมูลเกี่ยวกับสภาพแวดล้อมของแหล่งธรรมชาติและศิลปกรรมและพิจารณาแก้ไขปัญหาสิ่งแวดล้อมศิลปกรรมในท้องถิ่นอย่างเป็นระบบ

3.3 สนับสนุนให้มีการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมธรรมชาติและศิลปกรรมในแต่ละท้องถิ่นให้ถูกวิธีโดยท้องถิ่นและประชาชนมีบทบาทสำคัญด้วยการเสริมสร้างบุคลากรในท้องถิ่น ให้มีคุณภาพ

3.4 สนับสนุนข้อมูลทางวิชาการ อีกทั้งให้ข้อคิดเห็นและข้อเสนอแนะในการพิจารณาโครงการพัฒนาต่างๆ ที่จะเข้ามาในพื้นที่ที่เป็นแหล่งธรรมชาติและศิลปกรรมเพื่อให้การพัฒนาด้านเศรษฐกิจและการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมธรรมชาติศิลปกรรมเป็นไปอย่างสอดคล้อง

3.5 ตรวจสอบดูแลสิ่งแวดล้อมโดยรอบแหล่งธรรมชาติและศิลปกรรมในพื้นที่รับผิดชอบและรายงานสถานการณ์ที่คาดว่าจะมีผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมธรรมชาติและศิลปกรรมไปยังสำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม

ผลผลิต

3.6 หน่วยอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมธรรมชาติและศิลปกรรมท้องถิ่น ได้ดำเนินงานตามแผนงานโครงการโดยได้รับความร่วมมือจากทุกภาคส่วน ปฏิบัติงานได้อย่างเป็นระบบมีประสิทธิภาพและประสิทธิผลอันก่อให้เกิดประโยชน์ส่วนร่วมต่อประเทศชาติอย่างยั่งยืน

3.7  การเฝ้าระวังและรักษาการคงสภาพและรายงานสถานการณ์สิ่งแวดล้อมธรรมชาติและศิลปกรรมท้องถิ่น ให้เป็นไปตามวัตถุประสงค์ของแผนพัฒนาการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมธรรมชาติและศิลปกรรม

3.8  องค์กรปกครองท้องถิ่นและภาคีเครือข่ายในพื้นที่มีส่วนร่วมในการบำรุงรักษาพัฒนาแหล่งสิ่งแวดล้อมธรรมชาติแหล่งธรณีวิทยาแหล่งศิลปกรรม และแหล่งมรดกทางธรรมชาติและศิลปกรรมทางวัฒนธรรม ภายใต้หลักการอนุรักษ์และพัฒนาที่ยั่งยืน

 4. กลุ่มเป้าหมาย/พื้นที่ดำเนินการ

      ในพื้นที่จังหวัดน่าน อาทิ คณะอนุกรรมการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมธรรมชาติและศิลปกรรมประจำจังหวัด,คณะกรรมการดำเนินการประจำหน่วยอนุรักษ์ฯ , หน่วยงานราชการ สถาบันการศึกษา, อปท., ประชาชน

 5. ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ

5.1 ด้านการอนุรักษ์ทรัพยากรทางวัฒนธรรม 

1) ช่วยเสริมคุณค่าและความสำคัญของแหล่งศิลปกรรม ซึ่งถือว่าเป็นทรัพยากรทางวัฒนธรรม(Cultural Resource) ให้เด่นชัดขึ้น   

2) ช่วยให้เกิดความรู้รักสามัคคีในการร่วมมือร่วมใจ ดูแล ปกป้องและรักษาแหล่งศิลปกรรมที่เป็นมรดกทางวัฒนธรรม ให้คงอยู่ต่อไป   

3) ช่วยเสริมสร้างชื่อเสียงทางด้านศิลปวัฒนธรรมให้แก่ประเทศชาติ

 5.2 ด้านการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม   

1) ช่วยเสริมสร้างสภาพแวดล้อมที่ดีให้แก่ชุมชน   

2) ช่วยให้ประชาชนในบริเวณนั้นมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น   

3) ช่วยให้ชุมชนมีแหล่งสันทนาการเพื่อประโยชน์ทางด้านสุขภาพอนามัยและจิตใจ

5.3 ด้านการศึกษาและวิจัย   

1) ช่วยกระตุ้นยกระดับคุณภาพทรัพยากรบุคคลให้มีมาตรฐานสูงขึ้นทั้งทางด้านวิชาการและทัศนคติ   

2) ช่วยให้เยาวชนของชาติมีแหล่งความรู้ทางวิชาการที่จะนำไปสู่การศึกษาและวิจัยซึ่งจะนำประโยชน์     

    มาสู่ท้องถิ่นในอนาคต 

 6.  ขอบเขตการดำเนินงาน

6.1 ประสานและดำเนินงาน ดูแล ตรวจสอบ จัดเก็บและให้ข้อมูลในระดับท้องถิ่นและชุมชนมีมาตรการควบคุมการใช้พื้นที่โดยการประกาศเขตอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมศิลปกรรม

6.2 ให้มีการศึกษาอบรมและประชาสัมพันธ์แก่ประชาชนให้มีความรู้ความเข้าใจเพื่อเป็นการป้องกันที่ต้นเหตุ มีการจดบันทึกจัดเก็บและเผยแพร่ข้อมูลอย่างเป็นระบบ โดยมุ่งเน้นให้ประชาชนเกิดความตระหนักและเข้าใจความสำคัญของสิ่งแวดล้อมศิลปกรรมที่อยู่โดยรอบแหล่งศิลปกรรมซึ่งจะนำไปสู่การพัฒนาวิธีการอนุรักษ์อย่างเป็นระบบและมีประสิทธิภาพ

6.3 จัดตั้งศูนย์แหล่งเรียนรู้รวบรวมข้อมูลเพื่อการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมศิลปกรรมและแหล่งชุมชนโบราณ

6.4 ประสานและดำเนินงานดูแลรักษาตรวจสอบจัดเก็บและให้ข้อมูลในระดับท้องถิ่นชุมชน ติดตาม ตรวจสอบและรายงานผลการสำรวจและติดตามตรวจสอบสภาพแวดล้อมของแหล่งธรรมชาติและแหล่งศิลปกรรมท้องถิ่นจังหวัด จัดทำรายงานสถานภาพสิ่งแวดล้อมธรรมชาติและศิลปกรรม

6.5 ประชุมคณะอนุกรรมการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมและศิลปกรรมประจำจังหวัด,คณะกรรมการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมธรรมชาติและศิลปกรรมท้องถิ่น คณะอย่างน้อยปีละ 2 ครั้ง และเข้าประชุมร่วมกับหน่วยงานทั้งส่วนกลางส่วนท้องถิ่นที่สอดคล้องกับบทบาทหน้าที่เกี่ยวข้อง

6.6 รายงานสรุปผลการดำเนินงานประจำปีงบประมาณให้สำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ก่อนสิ้นสุดปีงบประมาณของทุกปี

1) การประชุมคณะอนุกรรมการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมธรรมชาติและศิลปกรรมประจำจังหวัด

2) การเข้าร่วมประชุมภาคีประจำปีและภาคีกลุ่มจังหวัด

3) การประชุมคณะกรรมการประจำหน่วยอนุรักษ์ฯ

4) การประชุมเครือข่ายอนุรักษ์ฯ ภาคเหนือ และอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง

5) การรายงานสถานการณ์ ในการบริหารจัดการแหล่งสิ่งแวดล้อมธรรมชาติและศิลปกรรม ลงในระบบ culturalenvi.onep.go.th

6) การรายงานความเคลื่อนไหว กิจกรรม ข่าวสาร การดำเนินงานของหน่วยงานอนุรักษ์ ลงใน Facebook ของหน่วยอนุรักษ์ฯ

 ทั้งนี้ขอบเขตการดำเนินการที่จะให้ประชาชนในท้องถิ่นและชุมชนได้ตระหนักและเข้าใจถึงความสำคัญของสิ่งแวดล้อมที่มีต่อมรดกทางธรรมชาติและวัฒนธรรมของท้องถิ่นและประเทศที่เอื้อต่อหน่วยอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมธรรมชาติและศิลปกรรมท้องถิ่น ให้สอดคล้องกับรัฐธรรมนูญนโยบายรัฐบาลแผนการจัดการคุณภาพสิ่งแวดล้อมและแผนพัฒนาจังหวัด เพื่อจัดทำแผนงานและโครงการนำเสนอสำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมพิจารณาสนับสนุนงบประมาณอุดหนุนประจำปีต่อไป

 7.  ระยะเวลาดำเนินการ

ระยะเวลาการดำเนินงาน  เดือน ตุลาคม  2566  ถึง  วันที่  30  มิถุนายน  2567

การเสนอผลงานภายในเดือน กันยายน 2567

8.  ผู้รับผิดชอบโครงการ

     หน่วยอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมธรรมชาติและศิลปกรรมท้องถิ่นจังหวัดน่าน

9ผู้ประสานงาน

     เจ้าหน้าที่ประจำหน่วยอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมธรรมชาติฯ จังหวัดน่าน หมายเลขโทรศัพท์ 054 710373,   

     โทรสาร 054 773079,  มือถือ  089 9539734

 10.  การกำกับติดตามและประเมินผล

          ส่วนท้องถิ่น

        การบริหารงานตามแผนพัฒนาการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมธรรมชาติและศิลปกรรมในระดับจังหวัด ซึ่งมี คณะอนุกรรมการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมธรรมชาติและศิลปกรรมประจำจังหวัด, คณะทำงานหน่วยอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมธรรมชาติและศิลปกรรมท้องถิ่น,   หัวหน้าหน่วยอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมธรรมชาติและศิลปกรรมท้องถิ่นจังหวัดน่าน  

          ส่วนกลาง

        คณะอนุกรรมการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมธรรมชาติและศิลปกรรม,กองจัดการสิ่งแวดล้อมธรรมชาติและศิลปกรรม, ศูนย์ประสานติดตามและนิเทศ (ศปน.) ,ภาคีอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมธรรมชาติและศิลปกรรม กลุ่มจังหวัด 

แผนงานที่ 2

แผนงาน โครงการที่ 3 การอบรมศักยภาพเครือข่ายงานอนุรักษ์ธรรมชาติและศิลปกรรม

แผนงาน โครงการที่ 3 การอบรมศักยภาพเครือข่ายงานอนุรักษ์ธรรมชาติและศิลปกรรม

แผนที่ 3 การอบรมสัมมนาศักยภาพเครือข่ายอนุรักษ์สิ่งธรรมชาติและศิลปกรรม

แผนงานที่ ๓  การอบรมสัมมนาเผยแพร่ความรู้เรื่องการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมธรรมชาติและศิลปกรรม

กิจกรรม  สร้างเครือข่ายบุคลากรในการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมธรรมชาติและศิลปกรรม

ชื่อโครงการ  การอบรมสัมมนาเครือข่ายอนุรักษ์เพื่อพัฒนาศักยภาพผู้นำองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น เยาวชนและประชาชนในย่านชุมชนเก่าน่าน

 ๑.     หลักการและเหตุผล

ประเทศไทยมีแหล่งสิ่งแวดล้อมธรรมชาติและแหล่งศิลปกรรมที่สวยงามของท้องถิ่นอยู่เป็นจำนวนมากซึ่งกระจัดกระจายทั่วประเทศ โดยเฉพาะแหล่งน้ำ แก่ง เกาะ ชายหาด ภูเขา ถ้ำ น้ำตก โป่งพุร้อน ซากดึกดำบรรพ์ ธรณีสัณฐานและภูมิลักษณวรรณา รวมถึงแหล่งศิลปกรรมที่สำคัญ เช่น วัดเก่า เจดีย์เก่า โบสถ์หรือวิหาร สถูป และย่านชุมชนเก่า ชุมชนโบราณ กำแพงเมือง คูเมือง เป็นต้น  สิ่งแวดล้อมศิลปกรรมก็มีความสำคัญอย่างยิ่งในฐานะเป็นสิ่งที่ส่งเสริมรักษาคุณค่าและคุณภาพของศิลปกรรมให้ดำรงอยู่และมีความหมายมากยิ่งขึ้น  จากการพัฒนาเศรษฐกิจและการเจริญเติบโตของเมือง รวมถึงการส่งเสริมการท่องเที่ยว ที่ไม่ได้มีการคำนึงถึงขีดความสามารถของการรองรับของพื้นที่ มีการจัดทำแผนแต่ขาดการนำแผนไปสู่การปฏิบัติ ขาดการดูแลรักษาที่ต้องอาศัยความร่วมมือจากทุกภาคส่วน ประกอบกับการมุ่งหวังรายได้ ทางด้านเศรษฐกิจและการท่องเที่ยวเป็นหลัก ทำให้ทั้งตัวแหล่งสิ่งแวดล้อมธรรมชาติและแหล่งสิ่งแวดล้อมศิลปกรรมถูกคุกคาม สถานการณ์เช่นนี้ได้เกิดขึ้นในหลายพื้นที่ ทำให้เกิดความเสียหายต่อแหล่งธรรมชาติและแหล่งศิลปกรรม รวมทั้งสภาพแวดล้อมทางธรรมชาติโดยรอบ หากสิ่งแวดล้อมที่เกี่ยวเนื่องกับศิลปกรรมถูกทำลายหรือเสื่อมโทรมลงไป ย่อมส่งผลกระทบให้คุณภาพและคุณค่าของศิลปกรรมด้อยลงจนหมดความหมาย  เพื่อให้การบริหารจัดการ หรือการป้องกันสิ่งแวดล้อมแหล่งธรรมชาติและแหล่งศิลปกรรม สำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม มีหน้าที่รับผิดชอบงานด้านอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมธรรมชาติและศิลปกรรมให้บรรลุวัตถุประสงค์ ได้รับการเอาใจใส่ดูแลรักษา และอนุรักษ์อย่างถูกต้องเหมาะสม รวมทั้งให้การอบรมสร้างจิตสำนึกแก่ประชาชน และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพื่อให้ท้องถิ่นเข้ามามีส่วนร่วมในการดำเนินงานอนุรักษ์ศิลปกรรมและวัฒนธรรม เป็นสิ่งสะท้อนให้เห็นถึงคุณค่าวิถีชีวิตที่ชุมชนและท้องถิ่นต่างๆ ได้พัฒนาและสร้างสรรค์ขึ้นเพื่อใช้เป็นเครื่องมือในการดำเนินชีวิต โดยแสดงออกในรูปแบบและวิธีการที่หลากหลาย ทั้งในรูปแบบของวิถีชีวิต ขนบธรรมเนียมประเพณี ภูมิปัญญา ศิลปะการแสดง เพื่อเป็นการปลูกจิตสำนึกและกระตุ้นให้คนในชุมชนท้องถิ่นเกิดความตระหนัก มีความตื่นตัวและเข้าไปมีส่วนร่วมในการฟื้นฟูเผยแพร่และสืบสานภูมิปัญญาท้องถิ่นและคุณค่าความหลากหลายของศิลปะและวัฒนธรรมไทย ทั้งเป็นวิถีชีวิตค่านิยมและความเป็นไทย ในปัจจุบันวัฒนธรรมท้องถิ่นถูกละเลย ไมค่อยมีการถ่ายทอดสู่คนรุ่นใหม่ เช่น ศิลปะการตีกลองปู่จา กลองสะบัดชัย การต้องดอก รวมทั้งประเพณีและวิถีชีวิตที่ดีงาม ท่ามกลางความหลากหลายทางวัฒนธรรม ภายใต้กระแสโลกาภิวัฒน์วัฒนธรรมได้มีการถ่ายทอดและแลกเปลี่ยนเรียนรู้อยู่ตลอดเวลา หากมรดกทางศิลปวัฒนธรรม ที่มีความแตกต่างหลากหลายกันในพื้นที่ไม่ได้รับการสืบสานและอนุรักษ์ฟื้นฟูรวมถึงการพัฒนาต่อยอดให้เกิดคุณค่าทางสังคมและจิตใจทำให้คุณค่าทางมรดกวัฒนธรรมลดน้อยไปจนแทบจะสูญหาย  ศิลปกรรมวัฒนธรรมวิถีชีวิตที่เกิดขึ้นจากการสั่งสม องค์ความรู้ในแต่ละท้องถิ่นมีลักษณะโดดเด่นที่แตกต่างกันไปตามสภาพพื้นที่ในแต่ละพื้นที่มีภูมิปัญญาหลากหลาย ควรที่จะได้รับการถ่ายทอดเยาวชนรุ่นหลังสืบไป การอนุรักษ์เป็นหนทางหนึ่งที่ยั่งยืน ในการอนุรักษ์ ฟื้นฟู สืบสานวัฒนธรรมท้องถิ่นของชุมชนให้ดำรงอยู่ในท้องถิ่น การเรียนรู้ภูมิปัญญาท้องถิ่นให้แก่ประชาชน เด็กและเยาวชนเป็นผู้สืบทอดภูมิปัญญาจากผู้รู้ในชุมชน เพื่อให้สามารถจัดกระบวนการเรียนรู้ ถ่ายทอดประมวลผลตลอดจนสนับสนุนให้เยาวชนและชุมชนได้ตระหนักถึงความสำคัญของชุมชน มีความเข้าใจรากเหง้า ความเป็นวัฒนธรรม แบ่งปัน เกื้อกูลช่วยเหลือซึ่งกันและกัน มีการศึกษาเรียนรู้วิถีการดำรงชีวิต ชุมชนภูมิปัญญาพื้นบ้านที่มีมาช้านานบนพื้นฐานของธรรมชาติที่เกี่ยวพันสอดคล้องกับวิถีชีวิตชุมชน เป็นแนวคิดที่ตั้งอยู่บนรากฐานของศิลปกรรมวัฒนธรรมไทยเป็นแนวทางการพัฒนาที่ตั้งบนพื้นฐานของทางสายกลางความไม่ประมาท คำนึงถึงความพอประมาณ ความมีเหตุผล การสร้างภูมิคุ้มกันในตัวเอง ตลอดจนใช้ความรู้และคุณธรรม เป็นพื้นฐานหลักในการดำรงชีวิตและที่สำคัญจะต้องมี“สติ ปัญญา ความเพียร” ซึ่งจะนำไปสู่ “ความสุข”ในการดำเนินชีวิตอย่างแท้จริง การเผยแพร่องค์ความรู้ในด้านการบริหารจัดการองค์กรการปกครองท้องถิ่นชุมชนที่ยึดหลักคุณธรรมจริยธรรมในการดำเนินชีวิตรู้คุณค่าของหลักธรรมในทางศาสนาว่าสามารถนำมาปรับใช้ในการดำเนินชีวิตได้อย่างมีความสุขบนฐานความพอเพียง เป็นการเพิ่มศักยภาพชุมชนและพัฒนาคุณภาพชีวิตของคนในชุมชน สามารถนำการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมธรรมชาติและศิลปกรรมมาพัฒนาชีวิตไปสู่การพึ่งพาตนเองได้

               หน่วยอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมธรรมชาติและศิลปกรรมท้องถิ่นจังหวัดน่าน เห็นความสำคัญของการเสริมสร้างความรู้ความเข้าใจ และความตระหนักในการอนุรักษ์คุ้มครองสิ่งแวดล้อมธรรมชาติและศิลปกรรม จึงมุ่งหวังให้ท้องถิ่น ได้เห็นคุณค่าความสำคัญและการมีส่วนร่วมในการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมธรรมชาติและศิลปกรรมของท้องถิ่น พร้อมทั้งเกิดเครือข่ายบุคลากรการดำเนินงานอนุรักษ์คุ้มครองสิ่งแวดล้อมธรรมชาติและศิลปกรรม  เพื่อให้เกิดการประสานความร่วมมือกันในทุกภาคส่วน เกิดความสะดวกรวดเร็วและสามารถขับเคลื่อนงานไปสู่เป้าหมายตามที่ต้องการ       มีแนวทางร่วมสืบสานงานอนุรักษ์ภูมิปัญญาท้องถิ่นโดยเน้นหลักการปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ให้ดำรงไว้เป็นปราชญ์แห่งชีวิตตามศาสตร์พระราชา โดยการอนุรักษ์ฟื้นฟูสืบสานศิลปวัฒนธรรมท้องถิ่น เน้นให้เห็นคุณค่าทางภูมิปัญญาท้องถิ่นศิลปกรรมวัฒนธรรม การเข้าไปมีส่วนร่วมในการเฝ้าระวังรักษาอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมศิลปกรรม อันเป็นอัตลักษณ์เฉพาะตัวตนทำให้ชุมชนแข็งแรงมีรากแก้วไม่ถูกกลืนไปกับกระแสโลกาภิวัฒน์ โดยปราศจากดุลยภาพทางปัญญา และเข้าไปมีส่วนร่วมอนุรักษ์ฟื้นฟูศิลปวัฒนธรรม สิ่งที่บรรพบุรุษได้สร้างไว้สืบไป

 ๒วัตถุประสงค์

๑) เพื่อให้เกิดความรู้ความเข้าใจในการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมศิลปกรรม อย่างยั่งยืน

๒) เพื่อสร้างเครือข่ายบุคลากรการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมธรรมชาติและแหล่งศิลปกรรมของท้องถิ่น

๓) เพื่อสร้างจิตสำนึกความตระหนักให้เยาวชนและประชาชนเกิดความตระหนักรู้ถึงคุณค่าของสิ่งแวดล้อมธรรมชาติและศิลปกรรมอันควรแก่การอนุรักษ์

๔) เพิ่อเฝ้าระวังอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมธรรมชาติและศิลปกรรมและร่วมสืบสานศิลปะและวัฒนธรรมท้องถิ่น

 ๓.    เป้าหมาย

เกิดแนวร่วมด้านการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมธรรมชาติและศิลปกรรมในแต่ละท้องถิ่นที่ครอบคลุมทุกภาคส่วนซึ่งจะเป็นกำลังสำคัญในการผลักดันให้การดำเนินงานด้านอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมธรรมชาติและศิลปกรรมเกิดผลอย่างเป็นรูปธรรมและต่อเนื่องยั่งยืน

 ๔. ขอบเขตการดำเนินงาน

     หน่วยอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมธรรมชาติและศิลปกรรมท้องถิ่นจังหวัดน่านจัดประชุมเชิงปฏิบัติการ เพื่อให้

เครือข่ายมีความรู้ ความเข้าใจ ในการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมธรรมชาติสิ่งแวดล้อมศิลปกรรมท้องถิ่น และเฝ้าระวังปัญหาสิ่งแวดล้อมธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมศิลปกรรมในท้องถิ่น 

๑) โครงการ ค่ายเยาวชนมัคคุเทศก์รักษ์สิ่งแวดล้อมธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมศิลปกรรมในสถานศึกษา

๒) โครงการอบรมสัมมนาเครือข่ายอนุรักษ์เพื่อพัฒนาศักยภาพผู้นำองค์กรปกครองท้องถิ่น ในย่านชุมชนเก่า (ภาคประชาชน)

 ๕.    กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มหน่วยงานสถาบันทางการศึกษา

๑)  กลุ่มนักเรียนและเยาวชนมัคคุเทศก์ในพื้นที่ย่านชุมชนเก่าน่าน

๒)  นักเรียน เยาวชนและบุคลากรทางการศึกษาในพื้นที่จังหวัดน่าน

 กลุ่มหน่วยงานบริหารภาครัฐ เอกชน และองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในย่านชุมชนเก่าน่าน

๑) เจ้าหน้าที่หน่วยงานภาครัฐและเอกชน

๒) เจ้าหน้าที่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น

๓) พระภิกษุสงฆ์

 ๖.    กิจกรรม  ประกอบด้วย

๑) วิทยากรให้ความรู้ด้านประวัติศาสตร์ภูมิศาสตร์น่านเชิงอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมธรรมชาติและศิลปกรรม

๒) ศึกษาการจัดเก็บและคัดแยกใบลาน

๓) ศึกษาแหล่งเรียนรู้ภูมิปัญญาท้องถิ่นและแหล่งอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมธรรมชาติและศิลปกรรมท้องถิ่น

    การเฝ้าระวัง/ติดตามรายงาน

๔) การเป็นช่างมืออาชีพด้านศิลปกรรมอัตลักษณ์น่าน การต้องดอก ศิลปกรรมช่างปั้น ช่างแกะสลักน่าน

๕) การทำเรือจำลองน่าน นำเสนองานกลุ่มปฏิบัติการ และอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง

 

๗. งบประมาณ จำนวน  ๓๐,๐๐๐ บาท (สามหมื่นบาทถ้วน)

๑) โครงการอบรมสัมมนาเครือข่ายอนุรักษ์เพื่อพัฒนาศักยภาพนักเรียนนักศึกษา บุคลากรทางการศึกษา ผู้นำองค์กรปกครองท้องถิ่น จำนวน  ๓๐,๐๐๐ บาท (สามหมื่นบาทถ้วน)

 ๘. ระยะเวลาดำเนินการ

     เดือน ตุลาคม ๒๕๖๖  ถึง  ๓๐ กันยายน ๒๕๖๗

 ๙. สถานที่ 

ห้องประชุมศรีเพชรพิกุล  โรงเรียนสตรีศรีน่าน  อำเภอเมืองน่าน  จังหวัดน่าน

 ๑๐. ผู้รับผิดชอบโครงการ

     หน่วยอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมธรรมชาติและศิลปกรรมท้องถิ่นจังหวัดน่าน

     โรงเรียนสตรีศรีน่าน โทรฯ ๐๕๔ ๗๑๐๓๗๓  , โทรสาร ๐๕๔ ๗๗๓๐๗๙

     ผู้ประสานงาน นางสาวจีรวรรณจันทร์ระวี ธรรมะ 

 ๑๑.ผลที่คาดว่าจะได้รับ

 ๑) กลุ่มเป้าหมายในพื้นที่ได้มีความรู้ความเข้าใจในการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมธรรมชาติและศิลปกรรมและมีการดำเนินงานร่วมกันเกิดเป็นเครือข่ายการเฝ้าระวังปัญหาสิ่งแวดล้อมธรรมชาติและศิลปกรรมในท้องถิ่น

๕) เครือข่ายบุคลากรในการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมธรรมชาติและศิลปกรรมของท้องถิ่น ที่ผ่านการฝึกอบรมแล้วได้ขึ้นทะเบียน เพื่อเป็นฐานข้อมูลสำหรับการดำเนินงานอย่างต่อเนื่องต่อไป

๖) เครือข่ายเยาวชนและประชาชนเกิดความตระหนักรู้ถึงคุณค่าของสิ่งแวดล้อมธรรมชาติและศิลปกรรมอันควรแก่การอนุรักษ์มีในการเฝ้าระวังอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมธรรมชาติและศิลปกรรมและร่วมสืบสานศิลปะและวัฒนธรรม อย่างยั่งยืน

๗)    เครือข่ายได้ปลูกฝังและบ่มเพาะจิตสำนึกความพอเพียงโดยเน้นให้เกิดการปรับเปลี่ยนจากภายในและเสริมแรงหนุนด้วยการปฏิบัติจริงและเสริมสร้างรากฐานมุมมองเรื่องคุณค่าของภูมิปัญญาท้องถิ่นสู่การอนุรักษ์และฟื้นฟู รวมทั้งนำหลักคุณธรรมสร้างจิตใจให้มีความสำนึกในคุณธรรม โดยฝึกการปฏิบัติตนด้วย ศีล สมาธิ และปัญญา ให้มีความพร้อมที่จะเรียนรู้สิ่งที่ดีงามของการอนุรักษ์ และร่วมกันสืบสานภูมิปัญญาท้องถิ่นกล้าคุณธรรมน้อมนำคำพ่อสอนสู่การพัฒนาตามแนวพระราชดำริตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง

 ๑๒. ผู้เขียนโครงการ/รับผิดชอบงาน

                   นางสาวจีรวรรณจันทร์ระวี  ธรรมะ

เจ้าหน้าที่ประจำหน่วยอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมธรรมชาติและศิลปกรรมท้องถิ่นจังหวัดน่าน

 ๑๓.หัวหน้าหน่วยอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมธรรมชาติและศิลปกรรมท้องถิ่นจังหวัดน่าน

แผนงานที่ 4    ประจำปี 2567

แผนงานที่ ๔  ระบบข้อมูลเพื่อการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมธรรมชาติและศิลปกรรมของประเทศ

กิจกรรม ๑) การลงระบบฐานข้อมูลแหล่งศิลปกรรมอันควรอนุรักษ์ โดยสำรวจแหล่งศิลปกรรม Culturalenvi.onep.go.th

โครงการ  การสำรวจแหล่งศิลปกรรมในจังหวัดน่าน ลงในฐานข้อมูลแหล่งศิลปกรรมของหน่วยงาน สผ.  (culturalenvi.onep.go.th)

กิจกรรม ๒) การจัดทำข้อมูลแผนที่วัฒนธรรม

กิจกรรม ๓) การจัดทำฐานข้อมูลองค์ประกอบย่านชุมชนเก่า โดยเลือกจากย่านชุมชนในทะเบียนของ สผ. Ocd.onep.go.th ก่อน.

1.     หลักการและเหตุผล

การดำเนินงานอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมศิลปกรรม จำเป็นจะต้องมีข้อมูลเพื่อรายงานสถานการณ์ และการสื่อสารที่มีความรวดเร็วทันต่อเหตุการณ์ และไม่ยุ่งยากซับซ้อน เพื่อประกอบในการตัดสินใจ การวางแผนเพื่อให้การอนุรักษ์และการพัฒนาเป็นไปอย่างสอดคล้องและยั่งยืน สำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ได้จัดตั้งศูนย์ประสานงาน ติดตาม และนิเทศ (ศปน.) อยู่ที่กองจัดการ สิ่งแวดล้อมธรรมชาติและศิลปกรรม มีหน้าที่ในการขับเคลื่อนติดต่อประสานงานกับภาคีอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมธรรมชาติและศิลปกรรม เพื่อสนับสนุนการดำเนินงานของหน่วยอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมธรรมชาติและศิลปกรรมท้องถิ่น โดยนำนโยบายจากคณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ คณะอนุกรรมการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมธรรมชาติและศิลปกรรม ผ่านสำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ไปดำเนินการให้บรรลุเป้าหมาย ดังนั้นการประสานงานระหว่าง ศูนย์ประสานงาน ติดตาม และนิเทศ (ศปน.) กับหน่วยอนุรักษ์ฯ จึงต้องมีความรวดเร็ว ทันต่อสถานการณ์และเผยแพร่ข้อมูลให้ได้รับรู้ได้พร้อมๆ กันในคราวเดียว จึงเห็นควรให้มีการนำ Social Media อาทิ Facebook, Line, Youtube มาใช้ในการดำเนินงาน ประสานงานเพื่อรายงานสถานการณ์สิ่งแวดล้อมศิลปกรรมในจังหวัด ความเคลื่อนไหวต่างๆ รวมทั้งเพื่อประสานข้อมูลระหว่างหน่วยอนุรักษ์ฯ จังหวัด เพื่อสำรวจทำเป็นข้อมูลแหล่งสิ่งแวดล้อมธรรมชาติและศิลปกรรม ระหว่างหน่วยงานที่รับผิดชอบในการวางแผนอนุรักษ์และพัฒนาท้องถิ่นระดับจังหวัด และเป็นเครื่องมือในการตรวจสอบ เฝ้าระวัง พัฒนา และเปลี่ยนแปลง     ที่อาจทำลายคุณค่าความสำคัญของแหล่งสิ่งแวดล้อมศิลปกรรมรวมทั้งศูนย์ประสานงานติดตามและนิเทศ (ศปน.)

 2.  วัตถุประสงค์

2.1  เพื่อให้มีระบบการจัดเก็บข้อมูลด้านการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมธรรมชาติและศิลปกรรม การสำรวจแหล่งศิลปกรรมในพื้นที่จังหวัดน่าน ลงระบบฐานข้อมูลแหล่งศิลปกรรม อันควรอนุรักษ์ โดยการสำรวจแหล่งศิลปกรรม ลงในระบบ culturalenvi.onep.go.th

2.2 เพื่อให้ข้อมูลแหล่งสิ่งแวดล้อมธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมศิลปกรรมที่มีอยู่ในพื้นที่แต่ละชุมชน ได้มีการจัดเก็บข้อมูลไว้ในระบบข้อมูลที่เป็นรูปแบบเดียวกันและมีความละเอียดมีการพัฒนาระบบข้อมูลให้ทันสมัยอย่างต่อเนื่อง

2.3 เพื่อให้มีการจัดทำข้อมูลตามระบบอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมศิลปกรรมนำไปใช้ประโยชน์จัดทำแผนอนุรักษ์คุ้มครองและฟื้นฟูคุณภาพสิ่งแวดล้อมธรรมชาติและศิลปกรรมทั้งในระดับท้องถิ่นและระดับจังหวัด อย่างมีประสิทธิภาพและประสิทธิผลที่ชัดเจน เป็นส่วนหนึ่งของการเผยแพร่ความรู้ด้านการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมธรรมชาติและศิลปกรรมสู่สาธารณชน อีกทั้งมีการนำข้อมูลทรัพยากรธรรมชาติไปใช้ให้เกิดประโยชน์สูงสุดอย่างเป็นรูปธรรม 

 ผลผลิต/ตัวชี้วัด

     ผลผลิต  ฐานข้อมูลสิ่งแวดล้อมธรรมชาติและศิลปกรรมมีการจัดทำเก็บรวบรวมข้อมูลและบันทึกตามระบบเผยแพร่ข้อมูลของแหล่งศิลปกรรมของระดับประเทศ ประชาสัมพันธ์แหล่งเรียนรู้การอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมธรรมชาติและศิลปกรรมสู่สาธารณชน ท้องถิ่น ชุมชน ในเขตพื้นที่จังหวัดและระดับประเทศ อีกทั้งมีการพัฒนาข้อมูลได้อย่างมีประสิทธิภาพและประสิทธิผลอย่างเป็นระบบการแก้ไขปัญหาที่ต้นเหตุ ดูแลรักษา การควบคุมป้องกันมิให้ปัญหาสิ่งแวดล้อมธรรมชาติและศิลปกรรมลุกลามเกินกว่าจะแก้ไขได้

      ตัวชี้วัด  หน่วยอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมธรรมชาติและศิลปกรรมท้องถิ่น ได้จัดทำข้อมูลอย่างเป็นระบบและเผยแพร่ข้อมูลแหล่งศิลปกรรมของระดับประเทศต่อสาธารณชนได้อย่างมีประสิทธิภาพและประสิทธิผลที่ชัดเจน ตามระบบข้อมูลเพื่อการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมธรรมชาติและศิลปกรรมของประเทศ การลงระบบฐานข้อมูลแหล่งศิลปกรรมอันควรอนุรักษ์ โดยการสำรวจแหล่งศิลปกรรมในระบบ (culturalenvi.onep.go.th)

 3. ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ

3.1 หน่วยอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมธรรมชาติและศิลปกรรมท้องถิ่น มีฐานข้อมูลด้านสิ่งแวดล้อมธรรมชาติและศิลปกรรมท้องถิ่น เพื่อประกอบการสืบค้น วิเคราะห์ และนำไปประกอบพิจารณาการวางแผน การวิเคราะห์ผลกระทบ ต่อไป ตามระบบเผยแพร่ข้อมูลแหล่งศิลปกรรมของระดับประเทศ ที่ต้องปรับปรุงให้มีความทันสมัยตรวจสอบเพื่อป้องกันมิให้ปัญหาสิ่งแวดล้อมธรรมชาติและศิลปกรรมลุกลามเกินกว่าจะแก้ไขได้

3.2 สามารถเชื่อมโยงข้อมูลกับหน่วยงาน ระบบคลังข้อมูลสิ่งแวดล้อมศิลปกรรมของประเทศ จัดเก็บในระบบข้อมูลที่มีความละเอียดและในรูปแบบเดียวกัน การเผยแพร่ความรู้ด้านอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมธรรมชาติและศิลปกรรมสู่สาธารณชนท้องถิ่น อีกทั้งมีการนำไปใช้ประโยชน์อย่างเป็นรูปธรรม และสามารถนำไปใช้ประโยชน์ในการจัดทำแผนอนุรักษ์คุ้มครองและฟื้นฟูคุณภาพสิ่งแวดล้อมธรรมชาติและศิลปกรรม ทั้งในระดับท้องถิ่นระดับจังหวัด อย่างมีประสิทธิภาพและประสิทธิผลที่ชัดเจน

 4.  ขอบเขตการดำเนินงาน

4.1 ระบุแหล่งสิ่งแวดล้อมศิลปกรรมที่จะดำเนินการสำรวจ ย่านชุมชนเก่า ตามทะเบียนของสำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม และแหล่งศิลปกรรมอื่น ๆ

4.2 สำรวจภาคสนามแหล่งสิ่งแวดล้อมศิลปกรรม,ประเพณีวัฒนธรรมและภูมิปัญญาท้องถิ่น

4.3 ประเมินคุณค่าและวิเคราะห์แหล่งศิลปกรรม ภัยคุกคาม และแนวโน้มการเปลี่ยนแปลง

4.4 นำเข้าข้อมูลในระบบฐานข้อมูลแหล่งศิลปกรรม (culturalenvi.onep.go.th)

4.5 เชื่อมโยงภาคีเครือข่ายของหน่วยอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมธรรมชาติและศิลปกรรมท้องถิ่นระดับกลุ่มจังหวัด

          ระดับภาค และระดับประเทศ(ศปน.) “ภาคีอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมธรรมชาติและศิลปกรรม” 

 5.     ระยะเวลาดำเนินการ

1.     ระยะเวลาการดำเนินงาน   ตุลาคม 2566 – 30 มิถุนายน  2567

2.     การเสนอผลงาน  เดือน กรกฎาคม 2567

 6.     ผู้รับผิดชอบโครงการ

        หน่วยอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมธรรมชาติและศิลปกรรมท้องถิ่นจังหวัดน่าน โรงเรียนสตรีศรีน่าน

        โทรศัพท์ 054 710373,  โทรสาร 054 773079 

7.     ผู้ประสานงานโครงการ

       เจ้าหน้าที่ประจำหน่วยอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมธรรมชาติและศิลปกรรมท้องถิ่นจังหวัดน่าน   มือถือ 089 9539734

 8.     ผลที่คาดว่าจะได้รับ  

1.  หน่วยอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมธรรมชาติและศิลปกรรมท้องถิ่นจังหวัดน่าน มีการนำ Social Media  อาทิ Facebook, Line ,Twitter, Youtube  มาใช้ในการดำเนินงาน ประสานงาน เพื่อรายงานสถานการณ์และความเคลื่อนไหวต่างๆ การอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมธรรมชาติและศิลปกรรมรวมทั้งเพื่อประสานข้อมูลระหว่างหน่วยงานและเครือข่ายอนุรักษ์ในระดับจังหวัด ระดับภาค ระดับประเทศ

2.  หน่วยอนุรักษ์ฯ มีข้อมูลด้านสิ่งแวดล้อมธรรมชาติและศิลปกรรมของแต่ละพื้นที่ นำเข้าข้อมูลในระบบฐานข้อมูลแหล่งศิลปกรรม (culturalenvi.onep.go.th) ซึ่งมีการจัดเก็บข้อมูลไว้ในระบบข้อมูลที่เป็นรูปแบบเดียวกัน สามารถเชื่อมโยงกับเครือข่ายสังคม (Social Network) ได้อย่างมีประสิทธิภาพ และนำไปใช้ประโยชน์ในการจัดทำแผนอนุรักษ์คุ้มครองและฟื้นฟูคุณภาพสิ่งแวดล้อมธรรมชาติและศิลปกรรม อย่างมีประสิทธิภาพและประสิทธิผลที่ชัดเจน

หมายเหตุ  การดำเนินตามแผนงาน/โครงการที่ 4

1.  ระบุแหล่งสิ่งแวดล้อมศิลปกรรมที่จะดำเนินการสำรวจ

2.  สำรวจภาคสนามแหล่งสิ่งแวดล้อมศิลปกรรม

3.  ประเมินคุณค่าและวิเคราะห์แหล่งศิลปกรรม ภัยคุกคาม และแนวโน้มการเปลี่ยนแปลง

4.  การลงระบบฐานข้อมูลแหล่งศิลปกรรม (culturalenvi.onep.go.th)

อาทิ เช่น

1.      แหล่งสิ่งแวดล้อมศิลปกรรม, แหล่งสิ่งแวดล้อมธรรมชาติ    7. นักอนุรักษ์น่าน, ช่างฝีมือน่าน

2.      วัด วัดร้าง ศาสนสถาน โบสถ์ วิหาร สถูปเจดีย์             8. อนุสาวรีย์ อนุสรณ์สถาน ศาลหลักเมือง

3.      ชุมชนโบราณ เมืองโบราณ อุทยานประวัติศาสตร์           9. ภูมิปัญญาท้องถิ่น/ปราชญ์ชาวบ้าน

4.      แหล่งโบราณคดี โบราณวัตถุ เตาเผาโบราณ                 10.บ้านที่อยู่อาศัย /บ้านโบราณ อาคารเก่า

5.      พิพิธภัณฑ์สถาน สถาปัตยกรรม

6.      ย่านชุมชนเก่าน่าน, เมืองเก่า

7.      วัสดุอุปกรณ์ของเก่าดั้งเดิม และอื่นๆ  

 

การขับเคลื่อนงานอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมธรรมชาติและศิลปกรรมท้องถิ่น อันควรอนุรักษ์

การขับเคลื่อนงานอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมธรรมชาติและศิลปกรรมท้องถิ่น อันควรอนุรักษ์

หน่วยอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมธรรมชาติและศิลปกรรมท้องถิ่นจังหวัดน่าน
X